วันศุกร์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2563

บทที่ 1 ความปลอดภัยและทักษะในการปฎิบัติการเคมี

 1.1 ความปลอดภัยในการทำงานกับสารเคมี  

    การปฏิบัติการเคมีส่วนใหญ่ต้องมีความเกี่ยวข้องกับสารเคมีอุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆ ซึ่งผู้ทำการปฏิบัติการต้องตระหนักถึงความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่นและสิ่งแวดล้อมโดยผู้ทำการปฏิบัติการควรทราบเกี่ยวกับประเภทของสารเคมีที่ใช้ข้อควรปฏิบัติในการทำการปฏิบัติการเคมีและการกำจัดสารเคมีที่ใช้แล้วหลังเสร็จสิ้นการปฏิบัติการเพื่อให้สามารถทำปฏิบัติการเคมีได้อย่างปลอดภัย      1.1.1 ประเภทของสารเคมี             สารเคมี มีหลายประเภทแต่ละประเภทก็จะแตกต่างกันออกไป สารเคมีจึงจำเป็นต้องมีฉลากที่มีข้อมูลเกี่ยวกับความอันตรายของสารเคมีเพื่อความปลอดภัยในการจัดเก็บ โดย ฉลากของสารเคมีที่ใช้ในห้องปฏิบัติการควรมีข้อมูลดังนี้             1 ชื่อผลิตภัณฑ์             2 รูปสัญลักษณ์แสดงความเป็นอันตรายของสารเคมี             3 คำเตือนข้อมูลความเป็นอันตรายและข้อควรระวัง 4 ข้อมูลของบริษัทผู้ผลิตสารเคมี

ตัวอย่างฉลากสารเคมี


4    
        บนฉลากบรรจุภัณฑ์จะมีสัญลักษณ์ แสดงความเป็นอันตราย ที่สื่อความหมายได้ชัดเจนในที่นี้จะกล่าวถึง
สองระบบ ได้แก่ Globally Harmonized System of classification and labelling of chemicals (GHS)(NFPA) เป็นระบบที่ใช้ในสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นระบบที่ใช้สากล และ National fire protection association hazard identification system
ตัวอย่างสัญลักษณ์แสดงความเป็นอันตรายในระบบ GHS
      
 
    สำหรับสัญลักษณ์แสดงความเป็นอันตรายในระบบ NFPA จะ ใช้สีแทนความเป็นอันตรายในด้านต่างๆ ได้แก่สีแดง แทนความไวไฟ สีน้ าเงินแทนความเป็นอันตรายต่อสุขภาพสีเหลืองแทนความว่องไวในการ เกิดปฏิกิริยาเคมี โดยเศษตัวเลข 0-4 เพื่อระบุระดับความเป็นอันตรายจากน้อยไปหามากและช่องสีขาวใช้ใส่อักษรหรือสัญลักษณ์ที่แสดงสมบัติที่เป็นอันตรายด้านอื่นๆ



ตัวอย่างสัญลักษณ์แสดงความเป็นอันตรายในระบบ NFPA 
        
เพิ่มคำบรรยายภาพ
  1.1.2 ข้อควรปฏิบัติในการทำปฏิบัติการเคมี  
    การทำปฏิบัติการเคมีให้เกิดความปลอดภัยนอกจากต้องทราบข้อมูลของสารเคมีที่ใช้แล้ว ผู้ท าปฏิบัติการ ควรทราบเกี่ยวกับการปฏิบัติตนเบื้องต้นทั้งก่อน ระหว่าง และหลังท าปฏิบัติการ ดังต่อไปนี้ ก่อนท าการปฏิบัติการ 
 1) ศึกษาขั้นตอนหรือวิธีการทำปฏิบัติการให้เข้าใจ วางแผนการทดลอง หากมีข้อสงสัยต้อง สอบถาม ครูผู้สอนก่อนที่จะท าการทดลอง 
2) ศึกษาข้อมูลของสารเคมีที่ใช้ในการทดลอง เทคนิคการใช้เครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ ตลอดจน วิธีการ ทดลองที่ถูกต้องและปลอดภัย 
3) แต่งกายให้เหมาะสม เช่น สวมกางเกงหรือกระโปรงยาว สวมรองเท้ามิดชิดส้นเตี้ย คนที่มี ผมยาวควร รวบผมให้เรียบร้อย หลีกเลี่ยงการสวมใส่เครื่องประดับและคอนแทคเลนส์ ขณะทำปฏิบัติการ 
1) ข้อปฏิบัติโดยทั่วไป 
 1.1 สวมแว่นตานิรภัย สวมเสื้อคลุมปฏิบัติการที่ติดกระดุมทุกเม็ด ควรสวมถุงมือเมื่อ ต้องใช้สารกัด กร่อนหรือสารที่มีอันตราย ควรสวมผ้าปิดปากเมื่อต้องใช้สารเคมีที่มีไอระเหย และทำ ปฏิบัติการในที่ซึ่งมี อากาศถ่ายเทหรือในตู้ดูดควัน ดังรูป

1.2 ห้ามรับประทานอาหารและเครื่องดื่ม หรือทำกิจกรรมอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการ ท าปฏิบัติการ 
1.3 ไม่ทำการทดลองในห้องปฏิบัติการตามลำพังเพียงคนเดียว เพราะเมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้น จะไม่มีใคร ทราบและไม่อาจช่วยได้ทันท่วงที หากเกิดอุบัติเหตุในห้องปฏิบัติการ ต้องแจ้งให้ครูผู้สอน ทราบทันทีทุกครั้ง 
1.4 ไม่เล่นและไม่รบกวนผู้อื่นในขณะที่ทำปฏิบัติการ 
1.5 ปฏิบัติตามขั้นตอนและวิธีการอย่างเคร่งครัด ไม่ท าการทดลองใด ๆ ที่นอกเหนือ จากที่ได้รับ มอบหมาย และไม่เคลื่อนย้ายสารเคมี เครื่องมือ และอุปกรณ์ส่วนกลางที่ต้องใช้ร่วมกัน นอกจากได้รับอนุญาต จากครูผู้สอนเท่านั้น 
1.6 ไม่ปล่อยให้อุปกรณ์ให้ความร้อน เช่น ตะเกียงแอลกอฮอล์ เตาแผ่นให้ความร้อน (hot plate) ท างานโดยไม้มีคนดูแล และหลังจากใช้งานเสร็จแล้วให้ดับตะเกียงแอลกอฮอล์หรือปิดเครื่องและถอดปลั๊กไฟ ออกทันที แล้วปล่อยไว้ให้เย็นก่อนการจัดเก็บ เมื่อใช้เตาแผ่นให้ความร้อนต้อง ระวังไม่ให้สายไฟพาดบน อุปกรณ์

2) ข้อปฏิบัติในการใช้สารเคมี 
2.1 อ่านชื่อสารให้แน่ใจก่อนนำไปใช้ 
2.2 เคลื่อนย้ายสารเคมีด้วยความระมัดระวัง 
2.3 หันปากหลอดทดลองจากตัวเองและผู้อื่นเสมอ 
2.4 ห้ามชิมสารเคมี 
2.5 ห้ามเทน้ าลงกรดต้องให้กรดลงน้ำ
2.6 ไม่เก็บสารเคมีที่เหลือเข้าขวดเดิม 
2.7 ทำสารเคมีหกให้เช็ด 
 หลังทำปฏิบัติการ 
1) ทำความสะอาดอุปกรณ์ต่างๆ  
2) ก่อนออกจากห้องให้ถอดอุปกรณ์ป้องกันอันตราย 
1.1.3 การกำจัดสารเคมี การกำจัดสารเคมีแต่ละประเภทสามารถปฏิบัติได้ดังนี้ 
1) สารเคมีที่เป็นของเหลวไม่อันตรายเป็นกลาง ปริมาณไม่เกิน 1 ลิตร สามารถเทลงอ่างน้ำได้ เลย
2) สารละลายเข้มข้นบางชนิด ควรเจือจางก่อนเทลงอ่างน้ำ
3) สารเคมีที่เป็นของแข็งไม่อันตราย ใส่ในภาชนะที่ปิดมิดชิด ก่อนทิ้งในที่จัดเตรียมไว้ 
4) สารไวไฟ สารประกอบของโลหะเป็นพิษห้ามทิ้งลงอ่างน้ำ

         

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ข้อสอบเรื่องอะตอมและสมบัติของธาตุ

  1.  อะตอมประกอบไปด้วยโปรตอนและอิเล็กตรอนในจำนวนที่เท่า ๆ กัน คือ แบบจำลองอะตอมของใคร                                                      ...