วันศุกร์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2563

2.1 แบบจำลองอะตอม

  แบบจำลองอะตอม

-แบบจำลองอะตอมของ ดอลตัน (1808)
-แบบจำลองอะตอมของ ทอมสัน (1904)
-แบบจำลองอะตอมของ รัทเธอร์ฟอร์ด (1911)
-แบบจำลองอะตอมของ โบร์ (1913)
-แบบจำลองอะตอม กลศาสตร์ควอนตัม(กลุ่มหมอก) (1926-ปัจจุบัน)



สรุปแนวคิดของ จอห์น ดอลตัน
1.สสารประกอบขึ้นจากอนุภาคที่เล็กที่สุด เรียกว่าอะตอม มีลักษณะเป็นทรงกลมตันที่ไม่สามารถแบ่งแยกได้อีก
2.อะตอมไม่สามารถสร้างขึ้นใหม่ หรือทำลายได้
3.อะตอมของธาตุชนิดเดียวกัน จะมีคุณสมบัติเหมือนกัน
3.1 ในทางกลับกันอะตอมของธาตุต่างชนิดกัน จะมีสมบัติต่างกัน
4.เมื่ออะตอมของธาตุต่างชนิดกันมารวมตัวกัน จะเกิดเป็นสารประกอบ
4.1 โดยสารประกอบจะมีอัตราส่วนของธาตุเป็นเลขลงตัวจำนวนต่ำๆ

สรุปแนวคิดของ ทอมสัน
1.อะตอมเป็นทรงกลมที่เป็นกลางทางไฟฟ้า ซึ่งประกอบขึ้นด้วยอนุภาคที่มีประจุบวกและอนุภาคที่มีประจุลบ ซึ่งมีค่าประจุไฟฟ้าเท่ากัน
2.ประจุบวกและประจุลบของอะตอมจะกระจายตัวอยู่ทั่วทั้งอะตอมอย่างสม่ำเสมอ โดยประจุลบจะฝังตัวอยู่ในเนื้ออะตอมที่มีประจุบวก

         


แบบจำลองอะตอมรัทเทอร์ฟอร์ด
        ลอร์ดเออร์เนสต์ รัทเทอร์ฟอร์ด ได้ทำการทดลอง โดยการยิงอนุภาคแอลฟาไปยังแผ่นทองคำ                 พบว่าอนุภาคแอลฟาส่วนใหญ่จะเดินทางเป็นเส้นตรง ส่วนน้อยจะมีการเบี่ยงเบนทิศทาง และนาน ๆ ครั้งจะมีการสะท้อนกลับอย่างแรงจึงทำให้ได้ข้อสรุปว่า
-อะตอมประกอบด้วยนิวเคลียสที่มีโปรตอนรวมกันอยู่ตรงกลาง
-อิเล็กตรอนซึ่งมีประจุเป็นลบ จะวิ่งอยู่รอบนิวเคลียสเป็นบริเวณกว้าง
แบบจำลองอะตอมของโบร์
  • โบร์ได้ศึกษาแบบจำลองอะตอมขึ้นมาโดยนำแบบจำลองอะตอมของรัทฟอร์ดมาแก้ไข
  • พบว่าอิเล็กตรอนจะอยู่กันเป็นชั้น ๆ แต่ละชั้นเรียกว่า “ระดับพลังงาน”


บบจำลองอะตอมกลุ่มหมอก
  • เนื่องจากแบบจำลองของโบร์มีข้อจำกัด นักวิทยาศาสตร์จึงได้ศึกษาเพิ่มเติม
  • พบว่าอะตอมประกอบด้วยกลุ่มหมอกของอิเล็กตรอนรอบนิวเคลียส มีลักษณะเป็นทรงกลม
  • บริเวณที่มีกลุ่มหมอกทึบแสดงว่ามีโอกาสพบอิเล็กตรอนมากกว่าบริเวณที่มีกลุ่มหมอกจาง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ข้อสอบเรื่องอะตอมและสมบัติของธาตุ

  1.  อะตอมประกอบไปด้วยโปรตอนและอิเล็กตรอนในจำนวนที่เท่า ๆ กัน คือ แบบจำลองอะตอมของใคร                                                      ...