ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (science process skill) หมายถึง ความสามารถ และความชำนาญในการคิด เพื่อค้นหาความรู้ และการแก้ไขปัญหา โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ อาทิ การสังเกต การวัด การคำนวณ การจำแนก การหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับเวลา การจัดกระทำ และสื่อความหมายข้อมูล การลงความคิดเห็น การพยากรณ์ การตั้งสมมติฐาน การกำหนดนิยาม การกำหนดตัวแปร การทดลอง การวิเคราะห์ และแปรผลข้อมูล การสรุปผลข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง และแม่นยำ
ความสำคัญของทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นทักษะสำคัญที่แสดงถึงการมีกระบวนการคิด อย่างมีเหตุ มีผลตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ทำให้ผู้เรียน และผู้ปฏิบัติเกิดความเข้าใจในเนื้อหาทางวิทยาศาสตร์ สามารถเรียนรู้ และพัฒนาตนเองไปสู่กระบวนการคิดที่ซับซ้อนมากขึ้น
ประเภททักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เป็นทักษะแสวงหาความรู้ และแนวทางสำหรับการแก้ไขปัญหา เป็นแนวทางที่พัฒนาขึ้นตามหลักสูตร science a process approach (SAPA) ของสมาคมอเมริกันเพื่อความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ (The American association for the advancement of science) ประกอบด้วยทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 13 ทักษะ แบ่งเป็น 2 ระดับ คือ
1. ระดับทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน 8 ทักษะ เหมาะสำหรับระดับการศึกษาปฐมวัย
2. ระดับทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการ 5 ทักษะ เหมาะสำหรับระดับการศึกษามัธยมวัย
1.ทักษะการสังเกต (Observing) การสังเกต หมายถึง การใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือ หู ตา จมูก ลิ้น และผิวกาย เข้าไปสำรวจวัตถุหรือปรากฎการณ์ต่างๆ ในธรรมชาติหรือจากการทดลอง เพื่อค้นหาความจริงในสิ่งนั้น โดยไม่สังหรือเพิ่มความคืดเห็นของผู็สังเกตลงไป แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 1.การสังเกตเชิงคุณภาพ 2.การสังเกตุเชิงปริมาณ ถ้าสิ่งต่างๆ มีการเปลี่ยนแปลง ควรสังเกตในขณะสิ่งนั้นกำลังเปลี่ยนแปลง และหลังการเปลี่ยนแปลง จึงจะได้ข้อมูลที่ละเอียดมากขึ้น เพราะการสังเกตสิ่งต่างๆ ในช่วงเวลาต่างกัน ทำให้พบความแตกต่างของสิ่งนั้น การสังเกตที่ดีควรใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ให้มากที่สุด เพื่อสังเกตให้ได้ทั้งข้อมูลเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงโดยไม่ต่อเติมด้วยความคิดเห็นส่วนตัว
2.ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล (Inferring) การลงความเห็น หมายถึง การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 สังเกตสิ่งต่างๆ หรือปรากฎหารณ์ต่างๆ แล้วเพิ่มเติมความคิดเห็นส่วนตัวลงไปในข้อมูลนั้น การลงความเห็นจากข้อมูลอาจถูกหรือผิดขึ้นอยู่กับเงื่อนไขต่อไปนี้
1. ปริมาณและความกว้างของข้อมูล
2. ความถูกต้องของข้อมูล
3. ความรู้และประสบการณ์เดิมของผู้ลงความคิดเห็น
4. ความสามารถใการสังเกต
การลงความเห็ฯจาดข้อมูล จะทำให้เราเข้าใจปรากฎการณ์นั้น อธิบายปรากฎการณ์ต่างๆ ได้พยากรณ์เหตุการณืล่วงหน้าได้ และที่สำคัญทำให้เราสามารถควบคุมเหตุการณ์บางอย่างได้
3.ทักษะการจำแนกเพศ (Classifying) การจำแนกเพศ เป็นการแบ่งพวกหรือจัดจำแนก หรือเรียงลำดับวัตถุ หรือปรากฎการณ์ต่างๆ ที่ต้องการศึกษาห้เป็นหมวดหมู่ มีระบบในการจัดเก็บ ทำให้สะดวกรวดเร็วและง่ายต่อการศึกษาค้นคว้า โดยการหาลักษณะหรือคุณสมบัติร่วมบางประการ หรือหาเกณฑ์ความเหมือนหรือความต่าง หรือความสัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่งมาเป็นเกณฑ์ในการแบ่ง เกณฑ์นี้อาจกำหนดขึ้นเองหรือใช้เกณฑ์ที่ผู้อื่นกำหนดไว้แล้ว
4.ทักษะการวัด (Measuring) การวัด หมายถึง ความสามารถในการเลือกใช้เครื่องได้ถูกต้อง ว่าจะเลือกเครื่องมืออะไรในการวัดปริมาณของสิ่งต่างๆ และสามารถวัดได้ถูกต้องแม่นยำตามความเป็นจริง เช่น การวัดความกว้าง ความสูง ความหนา น้ำหนัก ปริมาตร เวลา หรืออุณหภูมิ เป็นต้น
5.ทักษะการใช้ตัวเลข (Using Number) การใช้ตัวเลขคำนวณ หรือการคำนวณ เป็นการนับจำนวนของวัตถุ และการนำค่าของตัวเลขที่ได้จากการวัดและการนับมาจัดกระทำให้เกิดค่าใหม่ โดยการนำตัวเลขนั้นมาบวก ลบ คูณ และหาร เพื่อนำค่าใหม่ที่คำนวณได้มาสื่อความหมายให้เข้าใขชัดเจนและเหมาะสมยิ่งขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น